ในฐานะที่เรามีคนใกล้และคนรู้จักตัวหลาย ๆ คน เป็นตำรวจในหลากหลายหน่วย มีความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจมาตลอดตั้งแต่ประเทศไทยเกิดวิกฤตทางการเมืองตั้งแต่ปี 2549+ เป็นต้นมา ตำรวจถูกวาดภาพให้เป็นแนวหน้าในการปะทะกับกลุ่มมวลชนทั้งสองฟากฝั่งการเมือง ถึงแม้เหตุการณ์รุนแรงครั้งนึง ตำรวจจะถูกดึงให้ถอยออกมาและแทนที่ด้วยกำลังทหารอย่างในปี 2553 จนเกิดเหตุการณ์น่าสลดก็ตาม
ต้องยอมรับว่าตำรวจก็คือคนคนหนึ่งเหมือนกัน ฉะนั้นการที่รัฐออกประกาศหรือข้อบังคับให้ข้าราชการทุกหน่วยงานหรือทุกฝ่าย ไม่ว่าจะข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ วางตัวให้เป็นกลาง แต่ในทางปฏิบัติ ลึก ๆ ในใจเขาก็จะมีการเลือกข้างอยู่ดี ว่าตนอยู่ฝ่ายไหน ไม่เว้นแม้แต่ผู้เขียนเองก็เถอะ
ในฝั่งการเมืองช่วงเวลานึง ตำรวจถูกมองว่าเป็นผู้ราย
เป็นขี้ข้านักการเมืองทหารคือคนดีที่เข้ามาล้างไพ่และกอบกู้ศีลธรรมอันดีของสังคม
ในอีกมุมการเมืองนึง ตำรวจคือผู้พิทักษ์ประชาธิปไตย ทหารคือผู้ทำล้ายลางประชาธิปไตยและปกครองแบบเผด็จการ
ไม่ว่าจะถูกมองจากมุมมองไหนฝั่งไหน ตำรวจก็ไม่มีทางที่จะทิ้งหน้าที่ในทางปฏิบัติได้ ที่เขาต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและนายเหนือหัว นอกเหนือจากผู้บังคับบัญชาจะแข็งขืนต่อคำสั่งที่ตนคิดว่าไม่ถูกต้อง ซึ่งหาได้ยากในประวัติศาสตร์ไทย
อีกหน้าที่หนึ่งที่ตำรวจจะต้องทำก็คือการควบคุมฝูงชน รวมไปถึงการปราบจลาจล ก่อนที่เหตุการณ์จะควบคุมไม่อยู่จึงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของทหาร
หลายความขัดแย้งทางการเมือง ตชด. มักจะเป็นหน่วยแรกที่ถูกผลักดันให้ปะทะกับประชาชน และเป็นแนวหน้าในการปราบปรามอย่างเช่นในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2516
แม้แต่เหตุการณ์สลายการชุมนุมครั้งล่าสุดที่บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลในเช้ามืดวันที่ 15 ตุลาคม 2563 ตชด. ก็เป็นหน่วยในการเข้าดำเนินการ รวมถึงถูกพาดพิงในการใช้เป็นสถานที่ในการควบคุมตัวแกนนำนักเคลื่อนไหวเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
แล้วหน้าที่จริง ๆ ในการควบคุมฝูงชนปัจจุบันเป็นของใคร ?
หน่วยที่ถูกตั้งขึ้นมาและมีภารกิจเกี่ยวกับด้านนี้โดยเฉพาะพึ่งถูกตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2552 นี่เอง ชื่อหน่วยว่า กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (บก.อคฝ.) อยู่ภายใต้กองบัญชาการตำรวจนครบาล หน้าที่ก็ตามชื่อเลยก็คือ อารักขาบุคคลสำคัญ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ แขก VIP ของรัฐ และควบคุมฝูงชนนั่นเอง ฉะนั้นเวลามีม็อบ (ในสถานการณ์ปกติ) เราจะเจอหน่วยนี้บ่อยที่สุด
เวลาจะมีการใช้กำลังในการสลายการชุมนุม คนที่คอยสั่งการควบคุมตำรวจภูธร ตชด. รวมถึงเป็นคนยิงแก๊สน้ำตาหรือสั่งการให้ใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูงก็จะเป็นคนจากกองบังคับการนี้
ถามว่าก่อนหน้านี้หล่ะ ใครมีหน้าที่ในการควบคุมฝูงชน ถ้าตอบจากประสบการณ์ตัวเองก็คงไม่ต่างจากปัจจุบันเท่าไหร่ คือกำลังหลักเป็นตำรวจนครบาล การอาศัยกำลังจากภูมิภาคในการเสริมกำลังเข้ามา ซึ่งก็คือตำรวจท้องที่เนี่ยแหล่ะ และกำลังจาก ตชด. ตามโพสก่อนหน้า
คฝ. จากภูธรจะมีการฝึกทบทวนกันปีละครั้งสองครั้ง ยกเว้นมีอีเวนท์ใหญ่อย่าม็อบปีที่ผ่านมา จะฝึกแสดงแสงยานุภาพบ่อยหน่อย ซึ่งเมื่อก่อนจะเรียกติดปากกันว่า ปจ. ที่ย่อมาจากปราบจลาจล
ฉะนั้นไม่ว่าเป็นตำรวจจากหน่วยไหนก็ตาม ยังไงคุณก็จะถูกฝ่ายการเมืองไม่ว่ายุคสมัยไหนผลักเป็นแนวหน้าในการรับแรงปะทะจากมวลชนเสมอ
อดทนต่อความเจ็บใจ
เราเป็นกำลังใจให้พวกท่าน แต่เราก็ไม่ลืมว่าท่านกำลังรับใช้ใครอยู่
อย่าลืมว่าใครเป็นนายที่แท้จริงของท่าน
ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ .